eXTReMe Tracker

คำนำ

ตลอดเวลาที่ผม ได้เข้าสู่ธุรกิจเครือข่าย ได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงการสร้างระบบธุรกิจเครือข่าย ได้พบเจอบุคคลที่ประสบความสำเร็จมากมาย บางคนไม่มีประสบการณ์และจบการศึกษาถึงระดับปริญญา แต่บุคคลเหล่านั้นกลับประสบความสำเร็จและสามารถสร้างความมั่งคั่ง มั่นคง ได้จากธุรกิจเครือข่าย แต่ในขณะเดียวผมก็ได้พบเห็นบุคคลทีไม่ประสบความสำเร็จอีกมากมายเช่นกัน สาเหตุอาจเกิดจากบางคนเข้าสู่ธุรกิจแบบไม่มีความรู้ หรือมีความรู้แต่ขาดความเข้าใจในระบบธุรกิจเครือข่ายอย่างถ่องแท้ พอเวลาเข้ามาทำจึงประสบกับความล้มเหลว ทำให้บางคนมีอคติทีไม่ดีต่อธุรกิจนี้ และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อธุรกิจว่าหลอกลวง เสียเงินเสียเวลา แต่ในความเป็นจริงธุรกิจเครือข่ายนั้น กลับมีเสน่ห์ สวยงาม และมีความมหัศจรรย์อยู่ในตัวอย่างเต็มเปี่ยม

เพียงแต่ท่าน... พร้อมที่จะเปิดใจเรียนรู้อย่างจริงจังหรือไม่?

amprimalifetime.blogspot.com นี้ ถูกจัดทำขึ้นเพราะต้องการจะรวบรวมบทความ วิธีคิด หลักการ การทำธุรกิจเครือข่ายและประสบการณ์ความรู้ต่างๆจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ เพื่อให้ผู้ที่กำลังทำธุรกิจเครือข่ายหรือผู้ที่กำลังมองหาในธุรกิจเครือข่าย ได้ศึกษาหาความรู้ ก่อนจะเข้าสู่อาณาจักรของธุรกิจ เพื่อนำไปประยุกต์หรือปฏิบัติให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องชัดเจน พร้อมกับการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่สนใจได้อย่างดีเยี่ยม เพื่อเป็นแนวทางการนำไปสู่เส้นชัยแห่งความสำเร็จในธุรกิจของท่านต่อไป....

...ด้วยความปรารถนาดี... ^_^

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

Franchise คืออะไร?

วันนี้เป็นวันเริ่มรู้จักกันกับผู้อ่านในสายธุรกิจขายตรงกันล่ะครับ เหตุอันเนื่องจากที่ผมนั่งคุยกับ บก. คุณสุทิน ที่ต่างคนต่างมีความเห็นตรงกันว่าน่าจะสร้างมุมของบทความที่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบธุรกิจที่จะว่าใหม่ก็ไม่เชิง แต่เป็นสนใจของหลายฝ่าย คือ ระบบงานแบบแฟรนไชส์ ที่อาจจะสามารถสร้าง หรือปรับให้เข้ากับระบบงานของธุรกิจขายตรงของพวกเราได้มากน้อย
ผมคงจะเริ่มจากพื้นฐานด้านระบบงานแฟรนไชส์ และค่อยวิเคราะห์ลงไปเชิงลึกมากขึ้นเริ่มกันที่ 

“ความหมายของแฟรนไชส์”ธุรกิจแฟรนไชส์ คือ วิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซี ส่วนทางบริษัทให้สิทธิเครื่องหมายการค้า ซึ่งถ้ายังไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิถือว่าไม่ถูกต้อง ต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะถ้าไม่มีเครื่องหมายการค้าจะไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญหรือ Know How อาจจะเป็นวิธีการในการทำธุรกิจที่จะถ่ายทอดให้แฟรนไชส์ซีในรูปแบบของการทำงานทั้งหมด เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจในทุกๆสาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

การจัดธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์จะต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆกับผู้ที่ต้องการมาลงทุน ซึ่งเป็นธรรมดาเมื่อเป็นธุรกิจก็ต้องมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินๆ ทองๆ มาเกี่ยวข้อง ในระบบแฟรนไชส์ก็จะมีชื่อเรียกเฉพาะเช่นคำว่า ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น Initial Franchise Fee บางที่เรียกว่า ค่าสิทธิ์แรกเข้า หรือ Entrance Fee เป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นของระบบแฟรนไชส์ที่แฟรนไชส์ซี จะต้องจ่ายให้แก่ แฟรนไชส์ซอร์ เป็นค่าสิทธิในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้าหรือบริการ หรือเครื่องหมายการค้าหนึ่ง ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด
โดยแฟรนไชส์ซอร์ ส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนกับรายจ่ายนี้เป็นการอำนวยความสะดวกต่อการทำธุรกิจรวมถึงการอบรมบริการต่างๆ ที่ทางแฟรนไชส์ซอร์จัดให้แก่แฟรนไชส์ซี

สิ่งที่เป็นค่าใช้จ่ายระบบแฟรนไชส์อีกอย่างก็คือ เงินรายงวด/ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือเรียกว่า ค่ารอยัลตี้(Royalty Fee) ซึ่งเป็นค่าสิทธิต่อเนื่องบนรายได้ที่แฟรนไชส์ซีได้ จากการดำเนินธุรกิจที่ได้รับสิทธิ เสมือนหนึ่งเป็นภาษีทางธุรกิจ หรือค่าสมาชิกสโมสรที่ทุกคนที่เป็นสมาชิกต้องช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนำไปพัฒนานั่นเอง เงินรายงวดหรือค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการนี้โดยปกติแฟรนไชส์ซี จะจ่ายให้แก่ แฟรนไชส์ซอร์ เป็นรายเดือน โดยคิดคำนวณจากสัดส่วนของยอดขายสุทธิในแต่ละเดือน

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะถูกกำหนดให้คงที่หรือผันแปรก็ได้หรืออาจจะเป็นทั้ง 2 แบบรวมกัน แฟรนไชส์ซอร์ อาจแลกเปลี่ยนด้วนการให้บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณาและสนับสนุนการขาย ให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

ทั้งค่า Royalty และค่าการตลาดในธุรกิจแต่ละประเภท มักจะมีความแตกต่างกันไป การตั้งระดับที่เหมาะสมของค่า Royalty นี้จะขึ้นอยู่กับความ
เข้มข้นของการบริการและการสนับสนุน รวมถึงการพัฒนาต่างๆ ซึ่งค่า Royalty จะต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ และเพิ่มเติมด้วยผลกำไรของ
แฟรนไชส์ซอร์ ยิ่งการบริการต่างๆ มีมากอัตราค่า Royalty จะยิ่งสูงขึ้น ในธุรกิจอาหารและร้านค้าปลีกต่างๆ อัตราเปอร์เซ็นต์ของค่า Royalty บนยอดขายมักจะมีค่าประมาณ 4-6 % ขณะที่ธุรกิจประเภทการบริการมักอยู่ที่ 8-10 %

ค่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นสิ่งที่แตกต่างกับการทำธุรกิจทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการล้มเหลวในธุรกิจและช่วยให้เถ้าแก่ใหม่เรียนลัดได้เร็วขึ้นกว่าปกติ เหมือนกับการจ่ายค่าติวเข้มทางธุรกิจและจ้างพี่เลี้ยงช่วยเหลือ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในระบบธุรกิจแฟรนไชส์อีก เช่น การลงทุนตกแต่งร้าน เพื่อให้มีรูปลักษณ์เหมือนกับของแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งต้นทุนนี้จะเกิดขึ้นในระยะแรกของการตกลงใจที่จะทำแฟรนไชส์

ดังนั้นแฟรนไชส์ซี จำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายล่วงหน้าส่วนนี้ พร้อมทั้งต้องแบ่งสรรเงินทุนส่วนหนึ่งให้เพียงพอกับการดำเนินงานธุรกิจตามปกติ เช่น ค่าใช้จ่ายทั่วไป เงินเดือนพนักงาน การสั่งซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น

อ้างอิงจาก อ.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์
http://www.thaifranchisecenter.com

รบกวน ติ-ช ม เพื่อนำไปปรับปรุงครับ